Archives for April, 2023

ไซลิทอล สารให้ความหวานต้านมะเร็งช่องปากในหนูทดลอง

ยุราพร สหัสกุล และ ดุลยพร ตราชูธรรม                 น้ำตาลกลูโคส (glucose) เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย แต่ก็เป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์มะเร็งบางชนิดในการเจริญเติบโตด้วย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งช่องปากและคอหอย มะเร็งตับ และมะเร็งปอด เป็นต้น ดังนั้นการวิจัยเพื่อหาแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่นที่ให้พลังงานกับเซลล์ร่างกายปกติแต่ไม่ส่งเสริมการเจริญและการลุกลามของเซลล์มะเร็งจึงมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง                 จากผลงานการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองล่าสุดพบว่า สารให้ความหวาน (sweetener) ที่ชื่อว่า  ไซลิทอล (xylitol) อาจมีผลในการชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งและยืดอายุขัยของหนูทดลองที่เป็นมะเร็งช่องปากได้ โดยงานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Nutrients เป็นผลงานของ ผศ.ดร.ยุราพร สหัสกุล และ รศ.ดร.ทพญ. ดุลยพร ตราชูธรรม อาจารย์นักวิจัยจาก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ น.ส. วรรณี […]

By admin | Uncategorized
DETAIL

เหตุใดผลิตภัณฑ์จากกัญชาจึงกำหนดมาตรฐาน ระดับปลอดภัย (safe dose) ได้ยาก

นโยบายปลดล็อกกัญชาหรือกัญชาถูกกฎหมาย ทำให้ประชาชนสนใจและพยายามใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ สันทนาการ และเพิ่มยอดขายในเชิงธุรกิจอย่างแพร่หลาย เช่น การใช้กัญชาเป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ แม้กระทรวงสาธารณสุขจะออกประกาศเพื่อให้มีแนวทางกำกับควบคุมและกำหนดมาตรฐานการใช้กัญชา แต่ยังพบกรณีผู้ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการบริโภคกัญชาอยู่ เช่น อาการประสาทหลอน เคลิบเคลิ้มจนเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ตลอดจนปัญหาระยะยาวทางจิตประสาท สติปัญญา และเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิด แนวทางสำคัญที่จะป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้คือ การกำหนดมาตรฐานระดับสูงสุดที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดมีการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวออกมา มีเพียงการกำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารได้ แต่ไม่ได้บอกว่า ในหนึ่งวันคนเราสามารถรับประทานได้สูงสุดไม่เกินเท่าใด เพื่อจะหาคำตอบว่า เหตุใดผลิตภัณฑ์จากกัญชาจึงกำหนดมาตรฐานระดับปลอดภัย ได้ยาก อ.ดร.ศรัณยา กิจดำรงธรรม และ รศ.ดร.ทพญ. ดุลยพร ตราชูธรรม จากหลักสูตรปริญญาโทสาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย (ภาคปกติและภาคพิเศษ) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้สืบค้นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ และพบว่า มูลเหตุที่แท้จริงนั้นมาจาก การตอบสนองต่อสารออกฤทธิ์ในกัญชา (CBD และ THC) ในแต่ละบุคคลคนนั้นต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ช่องทางการรับสัมผัส (แบบสูบ ร่างกายจะได้รับสารออกฤทธิ์ไวกว่า และปริมาณสูงกว่า แบบรับประทาน จึงอาจเกิดพิษไวกว่า แต่การรับประทานนั้น ผลดีหรือพิษจะอยู่นานกว่าสูบ) ระยะเวลา ความถี่ในการใช้ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ […]

By admin | Research focus
DETAIL
Institute of Nutrition, Mahidol University.
Webmaster : isaya.aun@mahidol.ac.th, nuwww@mahidol.ac.th
999 พุทธมณฑล สาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
โทรศัพท์ 0-2800-2380 โทรสาร 0-2441-9344
TOP