หลักสูตร

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย
 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย)
วท.ม.(พิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย)
ภาษาอังกฤษ
 Master of Science (Toxicology and Nutrition for Food Safety)
 M.Sc. (Toxicology and Nutrition for Food Safety)

 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต สำหรับ รหัส 64 หรือก่อนหน้า และ ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต สำหรับ รหัส 65 ขึ้นไป

  1. นักวิชาการด้านพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย ในหน่วยงานภาครัฐและอุตสาหกรรมอาหาร
  2. นักวิจัยด้านพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย ในสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถสร้างเสริมความรู้ด้วยตนเองจากความรู้เดิม ประสบการณ์การเรียนรู้และการปฏิบัติในกิจกรรมต่างๆ ในด้านพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย โดยบูรณาการความรู้ในสหวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ เพื่อทำการค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการได้ด้วยตนเอง สามารถประเมินความเสี่ยง ความปลอดภัยอาหาร และถ่ายทอดความรู้ตามจรรยาบรรณของหลักวิชา นำองค์ความรู้ทางด้านพิษวิทยามาประยุกต์ในการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยอาหารเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภค

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรมดังนี้

  1. ประพฤติ ปฏิบัติตนทั้งในด้านการปฏิบัติงาน การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ
  2. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทางพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย
  3. ประยุกต์ความรู้เพื่อประเมินความเสี่ยง ความปลอดภัยอาหาร เลือกใช้เทคนิคในการวิเคราะห์และทดสอบทางพิษวิทยาได้อย่างเหมาะสม เสนอแนวทางแก้ปัญหาความปลอดภัยอาหาร ออกแบบ ดำเนินการวิจัยด้านความปลอดภัยอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง
  4. สามารถทำงานเป็นทีม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  5. สืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ติดตามข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ สามารถสื่อสารและนำเสนอข้อมูลเชิงวิชาการได้อย่างเหมาะสม
  1. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือสาขาวิทยาศาสตร์
    สุขภาพที่ศึกษาต่อเนื่องอย่างน้อย 4 ปี ในสาขาที่มีการศึกษาวิชาอินทรีย์เคมี หรือชีวเคมีหรือสรีรวิทยาอย่างน้อย 2 หน่วยกิต จากสถาบัน
    ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  2. ต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. กรณี แผน ข ต้องมีประสบการณ์ทำงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การอาหาร โภชนาการ หรือที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ปี
  5. ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะราย ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

กระบวนการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: สมัครเข้าเรียนผ่านระบบรับสมัครของบัณฑิตวิทยาลัย โดยแนบสำเนาใบแสดงผลการเรียน (transcript) สำเนาปริญญาบัตร และสำเนาบัตรประชาชนในระบบ และดำเนินการชำระค่าสมัครเป็นเงิน 500 บาท

ขั้นตอนที่ 2: หลักสูตรจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบข้อเขียนทางระบบของบัณฑิตวิทยาลัย และติดต่อผู้สมัครเพื่อแจ้งรายละเอียดวิธีดำเนินการสอบ

ข้อสอบวิชา ความรู้ด้านพิษวิทยา ชีวเคมี อาหารโภชนาการและสุขภาพ เป็น ข้อสอบอัตนัย เชิงประยุกต์ประกอบด้วย 5 ส่วน จำนวน 27 ข้อ รวม 145 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้

– ส่วนวิเคราะห์และทักษะภาษาอังกฤษ(อ่านบทคัดย่อภาษาอังกฤษแล้ว ระบุวัตถุประสงค์ ตัวแปร ผลการวิจัย, เขียนเรียงความสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษ)

– สรีรวิทยาและพยาธิ (การทำงานของร่างกายในการย่อยและดูดซึมสารจากอาหาร / ลักษณะของเซลล์ที่ผิดปกติเป็นอย่างไร)

– ชีวเคมี (การแบ่งเซลล์, สังเคราะห์สารพันธุกรรม, การทำงานของโปรตีนและเอนไซม์ ที่เกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมอาหาร)

– พิษวิทยา (หลักการอาหารปลอดภัย, ระบบเอนไซม์กำจัดสารพิษในร่างกาย)

– อาหารและโภชนาการ (สมดุลของปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับ, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, มาตรฐานควบคุมคุณภาพการผลิต, คุณสมบัติของอาหารที่เน่าเสียง่ายและไม่เน่าเสียง่าย)