× X หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทเรียน สาระน่ารู้ ติดต่อเรา
แกงคั่วเทโพ

2.

แกงคั่วเทโพ

“แกงคั่วเทโพ” อาหารไทยโบราณ จัดเป็นแกงประเภทแกงคั่วใส่กะทิ มีรสชาติเปรี้ยวกับหวานเท่ากัน

ตามด้วยเค็มและเผ็ดเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมของมะกรูด จึงเป็นเมนูรสละมุนที่เหมาะกับทุกวัยรวมถึงผู้สูงอายุ

ที่เรียกแกงเทโพนั้นเพราะว่าสมัยก่อนนิยมใช้ปลาเทโพมาทำแต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปปลาเทโพมีราคาสูงและหาได้ยาก

จึงนิยมใช้เนื้อหมูสามชั้นแทน ทางสถาบันโภชนาการได้มีการวิจัยพัฒนานำกะทิธัญพืชและนมถั่วเหลือง

มาใช้ทดแทนกะทิจากมะพร้าวเพื่อลดปริมาณไขมันอิ่มตัวลงและมีกรดไขมันที่สมดุลเหมาะสมต่อการบริโภค



2.

แกงคั่วเทโพ

“แกงคั่วเทโพ” อาหารไทยโบราณ จัดเป็นแกงประเภทแกงคั่วใส่กะทิ มีรสชาติเปรี้ยวกับหวานเท่ากัน ตามด้วยเค็มและเผ็ดเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมของมะกรูด จึงเป็นเมนูรสละมุนที่เหมาะกับทุกวัยรวมถึงผู้สูงอายุ ที่เรียกแกงเทโพนั้นเพราะว่าสมัยก่อนนิยมใช้ปลาเทโพมาทำแต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปปลาเทโพมีราคาสูงและหาได้ยาก จึงนิยมใช้เนื้อหมูสามชั้นแทน ทางสถาบันโภชนาการได้มีการวิจัยพัฒนานำกะทิธัญพืชและนมถั่วเหลืองมาใช้ทดแทนกะทิจากมะพร้าว เพื่อลดปริมาณไขมันอิ่มตัวลงและมีกรดไขมันที่สมดุลเหมาะสมต่อการบริโภค





ส่วนประกอบ

* สำหรับ 10 ที่





ขั้นตอนการทำ

1. พริกแห้งเม็ดใหญ่หั่นเป็นท่อน พริกขี้หนูแห้ง ล้างให้สะอาด แช่น้ำให้นิ่ม บีบน้ำออกโขลกพร้อมเกลือให้ละเอียด ใส่ข่า ตะไคร้ รากผักชี ผิวมะกรูด กระเทียม หัวหอม กะปิ โขลกรวมกันจนละเอียดใส่กระชายที่ล้างสะอาดแล้วโขลกรวมกันจนละเอียดอีกครั้ง

2. เนื้อหมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นพอดีคำประมาณ 1 นิ้ว

3. ผักบุ้งไทยต้นขาวตัดโคนส่วนที่แก่ทิ้ง หั่นเป็นท่อนล้างน้ำให้สะอาด

4. นำกะทิธัญพืชแบ่งมาครึ่งส่วนใส่กระทะผัดกับน้ำพริกแกงให้หอมและแตกมันใช้ไฟอ่อน ใส่เนื้อหมูสามชั้นลงไปผัด เติมกะทิที่เหลือจนหมดจะได้น้ำพริกแกงกะทิที่แตกมันและหอมเครื่องแกง ตักใส่หม้อแล้วเติมนมถั่วเหลืองและน้ำลงไปพอเดือดใส่ผักบุ้ง เคี่ยวไฟอ่อนๆ จนผักนิ่ม

5. ปรุงรสด้วย น้ำตาล น้ำปลา น้ำมะขามเปียก ใส่ใบมะกรูดให้หอม

6. ยกลงพร้อมเสิร์ฟ


1 หน่วยบริโภคเท่ากับ 180 กรัม (2 ทัพพี)





เคล็ดลับน่ารู้

แกงคั่วจะใช้ผักเป็นหลัก ผักที่นิยมทำแกงคั่ว เช่น ผักบุ้ง ฝักเขียว สับปะรด ส่วนเนื้อสัตว์ที่นิยมใช้ เช่น ปลาย่าง ปลาแห้ง เนื้อหมู

แกงคั่วจะไม่ใส่เครื่องเทศ เพราะจะทำให้มีกลิ่นฉุน

รสชาติของแกงคั่วทั่วไป มีสามรส เปรี้ยว หวาน เค็ม

แกงคั่วบางชนิดจะมีสองรส คือ เค็มกับหวาน เช่นแกงคั่วเห็ด หรือแกงที่มีลักษณะคล้ายแกงคั่วแต่มีรสชาติออกเค็มอย่างเดียว เช่น แกงขี้เหล็ก แกงป่าชนิดต่างๆ เช่น แกงป่าปลาดุก แกงป่าปลาสับ แกงป่าเนื้อ แกงป่าไก่

ผักบุ้งและเครื่องแกงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ผักบุ้งไทยต้นขาวเป็นอาหารเย็นช่วยเจริญอาหาร แม้ว่ากะทิจะไม่มีคอเลสเตอรอล แต่ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลได้จากกรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีในกะทิสูง

เทคนิคการตบแล้วบิดผักบุ้งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง ช่วยให้โคนผักบุ้งแตกออกตามเส้นใย เมื่อนำไปต้มน้ำแกงจะซึมเข้าไป ทำให้ผักบุ้งนิ่มและมีรสชาติกลมกล่อม





คุณค่าสารอาหาร

แกงคั่วเทโพ 1 เสิร์ฟ หรือ 2 ทัพพี (180 กรัม) มีคุณค่าสารอาหารดังนี้


* ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน สำหรับผู้สูงอายุ 60-80 ปี


ข้อควรระวัง : แกงคั่วเทโพ 1 เสิร์ฟ ให้พลังงานค่อนข้างสูง และมีปริมาณโซเดียมในน้ำแกงสูงพอควร จึงควรทานสลับกับอาหารไม่มีกะทิ

แกงคั่วเทโพ 1 เสิร์ฟ หรือ 2 ทัพพี (180 กรัม) มีคุณค่าสารอาหารดังนี้


* ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน สำหรับผู้สูงอายุ 60-80 ปี


ข้อควรระวัง : แกงคั่วเทโพ 1 เสิร์ฟ ให้พลังงานค่อนข้างสูง และมีปริมาณโซเดียมในน้ำแกงสูงพอควร จึงควรทานสลับกับอาหารไม่มีกะทิ




ส่วนประกอบ

eTraining@INMU

บทเรียนที่สังเคราะห์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

“eTraining@INMU บทเรียนที่สังเคราะห์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นสื่อที่เหมาะสมกับผู้เรียนทั่วไป เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ทุกที่และทุกเวลาที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียอันประกอบด้วยสื่อที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียงและภาพ เคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการสาธิตขั้นตอนการผลิตให้เข้าใจง่ายในทุกขั้นตอน เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการ นำเสนอโดยอาจารย์ นักวิจัยของสถาบัน โภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละเนื้อหาที่นำเสนอและจะเป็นผู้ตอบข้อคำถามให้กับผู้เรียน"

52

Messages

99

Views

23

Shares

50

Users

eTraining@INMU

Page3

Page3




× X แกงคั่วเทโพ ส่วนประกอบ ขั้นตอนการทำ เคล็ดลับน่ารู้ คุณค่าสารอาหาร วิดีโอ ดาวน์โหลดไฟล์ แบบทดสอบ